สภาพทั่วไป

      ในปี พ.ศ. 2462 ได้ยกฐานะหมู่บ้านเป็นตำบลโพนทัน และได้รับการยกฐานะจากสภาตำบล เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพนทัน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2553 โดย โดยมีหมู่บ้านในเขตการปกครอง จำนวน 5 หมู่บ้าน มาจนถึงปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพนทัน ตั้งอยู่ ริมถนนแจ้งสนิท (อุบลราชธานี-ยโสธร) บ้านโพนทัน หมู่ที่ 1 ตำบลโพนทัน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งอยู่ห่างจาก จังหวัดยโสธร ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก อำเภอคำเขื่อนแก้ว ไปทางทิศเหนือ ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร

เนื้อที่

      องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน มีเนื้อที่ทั้งหมด 8,750 ไร่ หรือประมาณ 14 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 8,212 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่สาธารณะประโยชน์

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลย่อ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางหนองฮี บริเวณพิกัด VC 204352 ไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จดกึ่งกลางถนนแจ้งสนิท บริเวณพิกัด VC 211357 ไปทิศตะวันออกตามแนวกึ่งกลางถนนแจ้งสนิท สิ้นสุดที่บริเวณพิกัด VC 242324 รวมระยะทางด้านทิศเหนือ ประมาณ 5.5 กิโลเมตร
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ได้มีแนวเขตเริ่มต้นจากถนน รพช. (บ้านลุมพุก – สงเปือย) บริเวณพิกัด VC 231301 ไปทางทิศเหนือถึงแยกทางเกวียน บริเวณพิกัด VC 223312 ไปทิศตะวันตกตามกึ่งกลางทางเกวียน ผ่านถนนสงเปือย – แจ้งสนิท บริเวณพิกัด VC 211357 ถึงริมห้วย กะหล่าว ทางทิศใต้ บริเวณพิกัด VC 212318 สิ้นสุดที่ร่องบ่อบรรจบ ห้วยกะหล่าว บริเวณพิกัด VC 190330 รวมระยะทางด้านทิศใต้ ประมาณ 5.4 กิโลเมตร
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางถนนแจ้งสนิท บริเวณพิกัด VC 242324 ไปทิศตะวันออกตามแนวกึ่งกลางถนนแจ้งสนิท บริเวณพิกัด VC 250316 ไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านถนนบ้านลุมพุก-สำโรง บริเวณพิกัด VC 246310 ผ่านถนนบ้านโพนแพง – สำโรง บริเวณพิกัด VC 239306 สิ้นสุดที่ถนน รพช. (บ้านลุมพุก-สงเปือย) บริเวณพิกัด VC 231301 รวมระยะทางด้าน ทิศตะวันออกประมาณ 3.6 กิโลเมตร
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลย่อ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากร่องบ่อบรรจบห้วยกะหล่าว บริเวณพิกัด VC 190330 ไปทางทิศเหนือตามร่องน้ำลึกห้วยสะแนน ผ่านหนองสนมสิ้นสุดที่กึ่งกลางหนองฮี บริเวณพิกัด VC 204552 รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิเทศ

      ลักษณะภูมิเทศ โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ประมาณ 72% ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำนา โดยพื้นที่จะลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกของตำบล แยกลักษณะทางกายภาพได้ ดังนี้

  1. พื้นที่ของตำบลโพนทัน 80% ของพื้นที่รวมเหมาะสมในการปลูกข้าว เพราะอยู่ในที่ราบลุ่มทุ่งนาสลับป่าโปร่งดินเป็นดินปนทรายความอุดมสมบูรณ์ของที่ดินทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง จึงเป็นพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรกรรมจัดเป็นชุดดินร้อยเอ็ด ดินร่วนปนทราย ดินไม่เค็มและน้ำไม่ท่วม บางส่วนของพื้นที่เป็นที่น้ำซึมน้ำซับตลอดปี เนื้อที่ จำนวน 150 ไร่ ประชากรนำน้ำมาใช้ในระบบท่อ เพื่อการอุปโภคและบริโภคตลอดปี มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ห้วยกะหล่าว หนองฮี และหนองสนม
  2. ดินที่เป็นที่ดอน ซึ่งชาวนาได้นำมาใช้ในการปลูกข้าวปลาย เดือนสิงหาคม–กันยายน ทำให้ข้าวที่ปลูกมีระยะในการแตกกอจำกัด ทำให้ผลผลิตต่ำ
  3. ส่วนพื้นที่ปลูกพืชไร่ และไม้ผลและยืนต้นอยู่ทางทิศเหนือของตำบล เหมาะในการปลูกพืชไร่

เขตการปกครอง

      เขตพื้นที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน มีหมู่บ้านในเขตปกครอง ทั้งหมด 5 หมู่บ้าน เต็มส่วนทั้ง 5 หมู่บ้าน

ประชากร

      องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน มีประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งสิ้น 3,377 คน แยกเป็นชาย 1,700 หญิง 1,677 คน มีจำนวนหลังคาเรือน 1,023 หลังคาเรือน ดังนี้

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชาย หญิง หลังคาเรือน
1 บ้านโพนทัน 396 349 238
2 บ้านโพนทัน 262 258 142
3 บ้านน้ำเกลี้ยง 301 302 185
4 บ้านสำโรง 314 323 205
5 บ้านโพนทัน 427 445 253

      ที่มา : สำนักงานทะเบียนราษฎร์ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ณ มีนาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะภูมิอากาศ

      พื้นที่ตำบลบ้านแมด อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบ Tropical Savanha : “Aw” ตามระบบจำแนกประเภท ภูมิอากาศของ Koppen คือ มีช่วงความแตกต่างของฤดูฝน และฤดูแล้ง อย่างชัดเจน มีช่วงกลางวันยาวในฤดูร้อน และมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงตลอดปี อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (มรสุมฤดูหนาว และฤดูแล้ง) และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (มรสุมฤดูร้อน และฤดูฝน)

      ลักษณะฤดูกาลโดยปกติตามมาตรฐานภูมิศาสตร์สากล จะมีเพียงฤดูเดียว คือ ฤดูร้อน ทั้งร้อนชื้น และร้อนแห้งแล้ง แต่ถ้าจำแนกตามภูมิศาสตร์ของภูมิภาค สามารถแบ่งได้ 3 ฤดูกาล ดังนี้

      ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม และมักปรากฏเสมอว่า ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม แต่ระยะทิ้งช่วง จะไม่เหมือนกันในแต่ละปี ซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนมักจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านหรือเข้าใกล้ ทำให้มีฝนตกชุก บางปีอาจเกิดภาวะน้ำท่วม

      ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึง กลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยอุณหภูมิจะลดลง ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมเป็นต้นไป และจะหนาวมากในช่วง ปลายเดือนธันวาคม ถึง เดือนมกราคม ในฤดูนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดเอาความหนาวเย็นและแห้งเข้ามาปกคลุม

      ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะเริ่มร้อนขึ้นตามลำดับ และอาจมีฝนตกบ้างเป็นบางวันแต่ปริมาณไม่มากนัก ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ในฤดูนี้มักจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง

การคมนาคม

      องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน มีทางหลวงแผ่นดินสาย 23 ตัดผ่าน จำนวน 1 เส้น คือ ถนนแจ้งสนิท นอกจากนี้ยังมีถนนลาดยางกรมโยธาธิการ ซึ่งตัดเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน และภายในหมู่บ้าน จำนวน 3 เส้น ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้าน 28 เส้น ถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ในหมู่บ้าน จำนวน 3 เส้น ถนนลูกรังภายในหมู่บ้าน และเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน 15 เส้น

ไฟฟ้า

      ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน มีไฟฟ้าเข้าถึงครัวเรือน 100%

แหล่งน้ำธรรมชาติ

  1. ลำน้ำ,ลำห้วยจำนวน 1 สาย
  2. บึง,หนองและอื่นๆ จำนวน 2 แห่ง

แหล่งน้ำสร้างขึ้น

  1. ฝาย จำนวน 3 แห่ง
  2. บ่อน้ำตื้น จำนวน 12 แห่ง
  3. บ่อโยก จำนวน 4 แห่ง
  4. ประปาหมู่บ้าน จำนวน 5 แห่ง
  5. ประปาการประส่วนภูมิภาค จ่ายน้ำครอบคลุมพื้นที่บ้านน้ำเกลี้ยง หมู่ที่ 3
  6. ประปาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน จ่ายน้ำครอบคลุมพื้นที่บ้านโพนทัน หมู่ที่ 1,2 และ 5

การศึกษา

  1. โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
  2. โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
  3. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 5 แห่ง
  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
  5. หอกระจายข่าว 5 แห่ง
  6. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร 1 แห่ง
  7. หอกระจายข่าว อบต. 1 แห่ง

การศาสนา

  1. วัด/สำนักสงฆ์ 5 แห่ง
  2. ประชาชนในพื้นที่ นับถือศาสนาพุทธ 100%

ประเพณี

  1. ประเพณีงานวันขึ้นปีใหม่ ช่วงเดือนมกราคม
  2. ประเพณีบุญมหาชาติ ช่วงเดือนมีนาคม
  3. ประเพณีวันสงกรานต์ ช่วงเดือนเมษายน
  4. ประเพณีบุญบั้งไฟ ช่วงเดือนพฤษภาคม
  5. ประเพณีวันเข้าพรรษา ช่วงเดือนกรกฎาคม
  6. ประเพณีวันออกพรรษา ช่วงเดือนตุลาคม
  7. ประเพณีวันลอยกระทง ช่วงเดือนพฤศจิกายน

การสาธารณสุข

  1. โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพประจำตำบล 1 แห่ง
  2. เจ้าหน้าที่ 4 คน
  3. เตียงคนไข้ 3 เตียง
  4. อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100%

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  1. ที่ทำการตำรวจชุมชนประจำตำบล 1 แห่ง

อุตสาหกรรม

  1. โรงงานผลิตน้ำดื่ม จำนวน 1 แห่ง
  2. ร้านรับซื้อของเก่า จำนวน 2 แห่ง

แรงงาน

      จากการสำรวจของ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน ข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุระหว่าง 15 – 60 ปี ส่วนมากจะเป็นแรงงานด้านการทำการเกษตรกรรม และมีบางส่วน ที่ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบ คือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ หรือในตัวเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการจ้างแรงงาน

การท่องเที่ยว

      ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทันไม่มีแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์หนังประโมทัย ห้วยกะหล่าว การจัดงานประเพณีต่างๆ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาษาถิ่น

      ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ หนังประโมทัย วิธีการทำเครื่องจักรสารที่ใช้สำหรับครัวเรือน วิธีการทำการเกษตรบ้านดั้งเดิม

  1. ตำบลโพนทันร่วมกัน อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ หนังประโมทัย วิธีการทำเครื่องจักรสารที่ใช้สำหรับครัวเรือน วิธีการทำการเกษตรบ้านดั้งเดิม
  2. ประชาชน ร้อยละ 98 พูดภาษาอีสาน

 

ร้องเรียนร้องทุกข์

Map

Poll

ความพึงพอใจของท่าน ต่อการให้บริการของ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร อยู่ในระดับใด ?
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
Total Votes:
First Vote:
Last Vote:

สารสนเทศ สถ.

หน่วยงาน สถ.

ลิงค์น่าสนใจ