Print this page

สภาพทั่วไป

      ในปี พ.ศ. 2462 ได้ยกฐานะหมู่บ้านเป็นตำบลโพนทัน และได้รับการยกฐานะจากสภาตำบล เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพนทัน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2553 โดย โดยมีหมู่บ้านในเขตการปกครอง จำนวน 5 หมู่บ้าน มาจนถึงปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพนทัน ตั้งอยู่ ริมถนนแจ้งสนิท (อุบลราชธานี-ยโสธร) บ้านโพนทัน หมู่ที่ 1 ตำบลโพนทัน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งอยู่ห่างจาก จังหวัดยโสธร ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก อำเภอคำเขื่อนแก้ว ไปทางทิศเหนือ ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร

เนื้อที่

      องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน มีเนื้อที่ทั้งหมด 8,750 ไร่ หรือประมาณ 14 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 8,212 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่สาธารณะประโยชน์

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลย่อ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางหนองฮี บริเวณพิกัด VC 204352 ไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จดกึ่งกลางถนนแจ้งสนิท บริเวณพิกัด VC 211357 ไปทิศตะวันออกตามแนวกึ่งกลางถนนแจ้งสนิท สิ้นสุดที่บริเวณพิกัด VC 242324 รวมระยะทางด้านทิศเหนือ ประมาณ 5.5 กิโลเมตร
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ได้มีแนวเขตเริ่มต้นจากถนน รพช. (บ้านลุมพุก – สงเปือย) บริเวณพิกัด VC 231301 ไปทางทิศเหนือถึงแยกทางเกวียน บริเวณพิกัด VC 223312 ไปทิศตะวันตกตามกึ่งกลางทางเกวียน ผ่านถนนสงเปือย – แจ้งสนิท บริเวณพิกัด VC 211357 ถึงริมห้วย กะหล่าว ทางทิศใต้ บริเวณพิกัด VC 212318 สิ้นสุดที่ร่องบ่อบรรจบ ห้วยกะหล่าว บริเวณพิกัด VC 190330 รวมระยะทางด้านทิศใต้ ประมาณ 5.4 กิโลเมตร
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางถนนแจ้งสนิท บริเวณพิกัด VC 242324 ไปทิศตะวันออกตามแนวกึ่งกลางถนนแจ้งสนิท บริเวณพิกัด VC 250316 ไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านถนนบ้านลุมพุก-สำโรง บริเวณพิกัด VC 246310 ผ่านถนนบ้านโพนแพง – สำโรง บริเวณพิกัด VC 239306 สิ้นสุดที่ถนน รพช. (บ้านลุมพุก-สงเปือย) บริเวณพิกัด VC 231301 รวมระยะทางด้าน ทิศตะวันออกประมาณ 3.6 กิโลเมตร
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลย่อ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากร่องบ่อบรรจบห้วยกะหล่าว บริเวณพิกัด VC 190330 ไปทางทิศเหนือตามร่องน้ำลึกห้วยสะแนน ผ่านหนองสนมสิ้นสุดที่กึ่งกลางหนองฮี บริเวณพิกัด VC 204552 รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิเทศ

      ลักษณะภูมิเทศ โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ประมาณ 72% ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำนา โดยพื้นที่จะลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกของตำบล แยกลักษณะทางกายภาพได้ ดังนี้

  1. พื้นที่ของตำบลโพนทัน 80% ของพื้นที่รวมเหมาะสมในการปลูกข้าว เพราะอยู่ในที่ราบลุ่มทุ่งนาสลับป่าโปร่งดินเป็นดินปนทรายความอุดมสมบูรณ์ของที่ดินทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง จึงเป็นพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรกรรมจัดเป็นชุดดินร้อยเอ็ด ดินร่วนปนทราย ดินไม่เค็มและน้ำไม่ท่วม บางส่วนของพื้นที่เป็นที่น้ำซึมน้ำซับตลอดปี เนื้อที่ จำนวน 150 ไร่ ประชากรนำน้ำมาใช้ในระบบท่อ เพื่อการอุปโภคและบริโภคตลอดปี มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ห้วยกะหล่าว หนองฮี และหนองสนม
  2. ดินที่เป็นที่ดอน ซึ่งชาวนาได้นำมาใช้ในการปลูกข้าวปลาย เดือนสิงหาคม–กันยายน ทำให้ข้าวที่ปลูกมีระยะในการแตกกอจำกัด ทำให้ผลผลิตต่ำ
  3. ส่วนพื้นที่ปลูกพืชไร่ และไม้ผลและยืนต้นอยู่ทางทิศเหนือของตำบล เหมาะในการปลูกพืชไร่

เขตการปกครอง

      เขตพื้นที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน มีหมู่บ้านในเขตปกครอง ทั้งหมด 5 หมู่บ้าน เต็มส่วนทั้ง 5 หมู่บ้าน

ประชากร

      องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน มีประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งสิ้น 3,377 คน แยกเป็นชาย 1,700 หญิง 1,677 คน มีจำนวนหลังคาเรือน 1,023 หลังคาเรือน ดังนี้

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชาย หญิง หลังคาเรือน
1 บ้านโพนทัน 396 349 238
2 บ้านโพนทัน 262 258 142
3 บ้านน้ำเกลี้ยง 301 302 185
4 บ้านสำโรง 314 323 205
5 บ้านโพนทัน 427 445 253

      ที่มา : สำนักงานทะเบียนราษฎร์ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ณ มีนาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะภูมิอากาศ

      พื้นที่ตำบลบ้านแมด อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบ Tropical Savanha : “Aw” ตามระบบจำแนกประเภท ภูมิอากาศของ Koppen คือ มีช่วงความแตกต่างของฤดูฝน และฤดูแล้ง อย่างชัดเจน มีช่วงกลางวันยาวในฤดูร้อน และมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงตลอดปี อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (มรสุมฤดูหนาว และฤดูแล้ง) และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (มรสุมฤดูร้อน และฤดูฝน)

      ลักษณะฤดูกาลโดยปกติตามมาตรฐานภูมิศาสตร์สากล จะมีเพียงฤดูเดียว คือ ฤดูร้อน ทั้งร้อนชื้น และร้อนแห้งแล้ง แต่ถ้าจำแนกตามภูมิศาสตร์ของภูมิภาค สามารถแบ่งได้ 3 ฤดูกาล ดังนี้

      ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม และมักปรากฏเสมอว่า ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม แต่ระยะทิ้งช่วง จะไม่เหมือนกันในแต่ละปี ซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนมักจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านหรือเข้าใกล้ ทำให้มีฝนตกชุก บางปีอาจเกิดภาวะน้ำท่วม

      ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึง กลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยอุณหภูมิจะลดลง ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมเป็นต้นไป และจะหนาวมากในช่วง ปลายเดือนธันวาคม ถึง เดือนมกราคม ในฤดูนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดเอาความหนาวเย็นและแห้งเข้ามาปกคลุม

      ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะเริ่มร้อนขึ้นตามลำดับ และอาจมีฝนตกบ้างเป็นบางวันแต่ปริมาณไม่มากนัก ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ในฤดูนี้มักจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง

การคมนาคม

      องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน มีทางหลวงแผ่นดินสาย 23 ตัดผ่าน จำนวน 1 เส้น คือ ถนนแจ้งสนิท นอกจากนี้ยังมีถนนลาดยางกรมโยธาธิการ ซึ่งตัดเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน และภายในหมู่บ้าน จำนวน 3 เส้น ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้าน 28 เส้น ถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ในหมู่บ้าน จำนวน 3 เส้น ถนนลูกรังภายในหมู่บ้าน และเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน 15 เส้น

ไฟฟ้า

      ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน มีไฟฟ้าเข้าถึงครัวเรือน 100%

แหล่งน้ำธรรมชาติ

  1. ลำน้ำ,ลำห้วยจำนวน 1 สาย
  2. บึง,หนองและอื่นๆ จำนวน 2 แห่ง

แหล่งน้ำสร้างขึ้น

  1. ฝาย จำนวน 3 แห่ง
  2. บ่อน้ำตื้น จำนวน 12 แห่ง
  3. บ่อโยก จำนวน 4 แห่ง
  4. ประปาหมู่บ้าน จำนวน 5 แห่ง
  5. ประปาการประส่วนภูมิภาค จ่ายน้ำครอบคลุมพื้นที่บ้านน้ำเกลี้ยง หมู่ที่ 3
  6. ประปาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน จ่ายน้ำครอบคลุมพื้นที่บ้านโพนทัน หมู่ที่ 1,2 และ 5

การศึกษา

  1. โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
  2. โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
  3. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 5 แห่ง
  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
  5. หอกระจายข่าว 5 แห่ง
  6. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร 1 แห่ง
  7. หอกระจายข่าว อบต. 1 แห่ง

การศาสนา

  1. วัด/สำนักสงฆ์ 5 แห่ง
  2. ประชาชนในพื้นที่ นับถือศาสนาพุทธ 100%

ประเพณี

  1. ประเพณีงานวันขึ้นปีใหม่ ช่วงเดือนมกราคม
  2. ประเพณีบุญมหาชาติ ช่วงเดือนมีนาคม
  3. ประเพณีวันสงกรานต์ ช่วงเดือนเมษายน
  4. ประเพณีบุญบั้งไฟ ช่วงเดือนพฤษภาคม
  5. ประเพณีวันเข้าพรรษา ช่วงเดือนกรกฎาคม
  6. ประเพณีวันออกพรรษา ช่วงเดือนตุลาคม
  7. ประเพณีวันลอยกระทง ช่วงเดือนพฤศจิกายน

การสาธารณสุข

  1. โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพประจำตำบล 1 แห่ง
  2. เจ้าหน้าที่ 4 คน
  3. เตียงคนไข้ 3 เตียง
  4. อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100%

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  1. ที่ทำการตำรวจชุมชนประจำตำบล 1 แห่ง

อุตสาหกรรม

  1. โรงงานผลิตน้ำดื่ม จำนวน 1 แห่ง
  2. ร้านรับซื้อของเก่า จำนวน 2 แห่ง

แรงงาน

      จากการสำรวจของ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน ข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุระหว่าง 15 – 60 ปี ส่วนมากจะเป็นแรงงานด้านการทำการเกษตรกรรม และมีบางส่วน ที่ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบ คือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ หรือในตัวเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการจ้างแรงงาน

การท่องเที่ยว

      ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทันไม่มีแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์หนังประโมทัย ห้วยกะหล่าว การจัดงานประเพณีต่างๆ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาษาถิ่น

      ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ หนังประโมทัย วิธีการทำเครื่องจักรสารที่ใช้สำหรับครัวเรือน วิธีการทำการเกษตรบ้านดั้งเดิม

  1. ตำบลโพนทันร่วมกัน อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ หนังประโมทัย วิธีการทำเครื่องจักรสารที่ใช้สำหรับครัวเรือน วิธีการทำการเกษตรบ้านดั้งเดิม
  2. ประชาชน ร้อยละ 98 พูดภาษาอีสาน